วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ 358 หมู่ 8 ถนนกสิกรรม ตําบลหนองครก อําเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 33000
โทรศัพท์045-611991 โทรสาร 045-613998 Website www.sicc.ac.th
ประวัติสถานศึกษา
วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ เป็นสถานศึกษาสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เดิมมีชื่อว่า “ศูนย์ฝึกวิชาชีพศรีสะเกษ” จัดตั้งขึ้นตามโครงการ
จัดตั้งศูนย์ฝีกวิชาชีพ เมื่อปี พ.ศ. 2525 บนพื้นที่ 150 ไร่ ซึ่งดําเนินการโดย กรมอาชีวศึกษา (เดิม)
กระทรวงศึกษาธิการ โดยที่โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกวิชาชีพนี้ จัดเป็นโครงการทดลอง (Pilot Project)
เพื่อให้การบริการสอนวิชาชีพตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 และหลักสูตร
มัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 อันเป็นหลักสูตร ที่มุ่งเน้นให้การศึกษาที่เป็นพื้นฐาน
ตลอดจนประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน เพื่อให้สามารถ
นําไปประกอบอาชีพได้อย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นให้บริการสอนวิชาชีพแก่โรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งส่วนที่
เป็นของรัฐบาลและภาคเอกชนในจังหวัดศรีสะเกษ ที่ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์ฝึกวิชาชีพศรีสะเกษ ในรัศมี
ประมาณ 15-40 กิโลเมตร โดยมีรถบัสของศูนย์ฝึกวิชาชีพศรีสะเกษ ให้บริการรับส่งนักเรียนจาก
โรงเรียนมัธยมศึกษาที่ส่งนักเรียนมารับบริการสอนวิชาชีพ และได้เปิดทําการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 16
พฤษภาคม 2526 ใน 4 ประเภทวิชา คือ
- ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
- ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
- ประเภทวิชาคหกรรม
- ประเภทวิชาเกษตรกรรม
สภาพชุมชน
วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ เป็นสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษมีอาณาบริเวณติดต่อ ดังนี้
- ด้านทิศเหนือติดกับวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ
- ด้านทิศใต้ติดกับถนนโชติพันธ์ และศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ จังหวัดศรีสะเกษ
- ด้านทิศตะวันออกติดถนนวิเศษภักดี
- ด้านทิศตะวันตกติดกับถนนกสิกรรม และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
ชุมชนที่อยู่ใกล้วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ มี 3 ชุมชน คือชุมชนวัดป่าศรีสําราญ ชุมชน
มารีหนองแคน และชุมชนสวนสมเด็จ ส่วนใหญ่จะเป็นหอพักนักศึกษาและหน่วยงานราชการ เช่น
สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สํานักงานแรงงานจังหวัด สถานีขนส่งจังหวัดศรีสะเกษ วิทยาลัยเกษตร
และเทคโนโลยีศรีสะเกษ วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย โรงเรียนอนุบาล
ศรีสะเกษ โรงเรียนมารีวิทยา รวมทั้งโรงพยาบาลศรีสะเกษ ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ
จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
สภาพเศรษฐกิจ
โครงสร้างหลักทางเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษ 3 อันดับแรกขึ้นอยู่กับภาคการเกษตร
ภาคการขายส่งขายปลีก และภาคการศึกษา โดยใน พ.ศ. 2553 มีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP)
เป็น 12,622 ล้านบาท, 12,525 ล้านบาท และ 8,731 ล้านบาท ตามลําดับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งสิ้น
เพิ่มขึ้นเป็น 55,643 ล้านบาท ประชากรมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 36,142 บาทต่อคนต่อปี
สภาพสังคม
ในจังหวัดศรีสะเกษ มีชุมชนหลายกลุ่มตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจาก
การอพยพย้ายครัวเข้ามาของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันยังคงปรากฏ
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพและวัฒนธรรมของกลุ่มคนเหล่านั้นอยู่ กลุ่มคนดังกล่าวได้แก่ ชาวลาว
ชาวเขมร ชาวกูย (หรือกวย) และเยอ